คุณเคยมีอาการแบบนี้มั้ย รุสึกกังวล ไปซะทุกอย่าง กลัวไปหมด กลัวความสกปรก กลัวการอยู่คนเดียว ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ คุณควรรีบเปิดวิดีโอของเราดู
Video Script:
ผู้ชายคนนี้ชื่อโจเซฟ สมองของเขาคิดฟุ้งซ่านอยู่เสมอ และฟุ้งซ่านไปด้วยความคิดแต่ด้านลบเสียด้วย เขากังวลไปซะทุกอย่าง ตั้งแต่กลัวจะพูดกับเพื่อนไม่ดี ไปจนถึงกลัวจะทำโทรศัพท์หาย หรือกลัวว่าเขาจะกินอาหารที่ไม่ดีพอ อีกทั้งเขายังกังวลเรื่องที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย เช่นลูกสาวเขาจะปลอดภัยไหมที่โรงเรียน หรือทำยังไงให้เพื่อให้เธอมีอนาคตที่ดี มันอาจจะดูเหมือนปัญหาทั่วไปที่ทุกคนกังวลกัน แต่สำหรับโจเซฟแล้ว มันกระทบต่อชีวิตและทำให้เขาต้องจมอยู่ในความกังวลและความกลัว
ส่วนผู้หญิงคนนี้ชื่อแคโรไลน์ แคโรไลน์ก็กังวลบ่อยเช่นกัน เธอทำงานที่มีความเครียดสูงและจำเป็นต้องใช้เวลามาก อีกทั้งเธอเองก็มีลูก ความกังวลและความเครียดถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางครั้งมันก็ถาโถมเข้ามาจนเธอทนรับไม่ไหวและล้มป่วยลง
ทั้งโจเซฟและแคโรไลน์คิดว่าถึงเวลาแล้วที่พวกเขาต้องไปพบหมอ พวกเขาอยากเข้าใจและอยากจะกำจัดความรู้สึกแย่ๆเหล่านี้ หมอบอกกับโจเซฟว่าเขาถูกวินิจฉัยด้วยโรควิตกกังวลทั่วไปหรือที่รู้จักในชื่อ จีเอดี ส่วนเคโรไลน์นั้นถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคตื่นตระหนก ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยนั้น พวกเขาไม่เคยรู้ถึงความแตกต่างระหว่างโรคทั้งสองเลย
ทั้งจีเอดีและโรคตื่นตระหนกนั้นเป็นโรควิตกกังวลที่มีลักษณะเฉพาะ จีเอดี เป็นสภาวะทางจิตที่เกิดจาก ความกังวลในปริมาณมากและควบคุมไม่ได้ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และอนาคต โรคตื่นตระหนก มีที่มาจากความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ทั้งสองอาการสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างหรือหลังจากเกิดเหตุการณ์เลวร้าย
เช่นเดียวกับโรคทางจิตใจอื่นๆ ไม่มีสาเหตุแน่ชัดที่ก่อให้เกิดจีเอดี เป็นที่เชื่อกันว่ามันเกิดมาจากความสัมพันธ์อันซับซ้อน ของพันธุกรรม สารสื่อประสาท ปัจจัยทางบุคลิก และสภาพแวดล้อม ที่กระตุ้นให้เกิดอาการป่วย ประสบการณ์ย่ำแย่ และเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ก็สามารถทำให้ผู้ที่ประสบเกิดโรคจีเอดีขึ้นได้
อาการของจีเอดีมีดังต่อไปนี้
• มีระดับความกังวลสูงเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือสิ่งที่ตามปกติแล้วไม่กังวลถึง
• ไม่สามารถปล่อยวาง ต่อความกังวลต่างๆ แม้จะรู้ว่ามันไม่สมเหตุสมผลหรือไม่อาจเป็นจริงได้
• รู้สึกกระสับกระส่าย, หงุดหงิด หรือตึงเครียด
• มีปัญหาในการรวบรวมสมาธิ
• มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ - อาจนอนไม่เพียงพอหรือนอนมากเกินไป
• ตกใจหรือสะดุ้งได้ง่าย
ผู้ที่เป็นจีเอดียังอาจประสบกับอาการทางร่างกายดังต่อไปนี้
• มีอาการตึงมากในกล้ามเนื้อ
• ปวดหัวบ่อยๆ และคลื่นไส้
• รู้สึกไม่มีพลังงานหรือเหนื่อยล้าอยู่สม่ำเสมอ
• มีอาการเหงื่อออก, สั่นเทา หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น
โรคตื่นตระหนกนั้นคือการเกิดขึ้นซ้ำๆของอาการตื่นตระหนกอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีสาเหตุ อาการตื่นตระหนกจะทำให้เกิด ความกลัวและการตื่นตระหนกขึ้นอย่างฉับพลัน ในทางกลับกันโรควิตกกังวลทั่วไป จะค่อยๆเพิ่มระดับความรู้สึก ของความหวาดหวั่นและไม่สบายใจ เกี่ยวกับทั้งปัจจุบันและอนาคต
สัญญาณของอาการตื่นตระหนกคือ
• รู้สึกตื่นตระหนกและเครียดอย่างรุนแรง
• มีอาการสั่นเทา
• มีเหงื่อออก
• อัตราการเต้นของหัวใจพุ่งสูงขึ้น
• หายใจลำบาก
• มีอาการชาที่มือและเท้า
• รู้สึกวิงเวียนหรือหน้ามืด
• เจ็บหน้าอก
• รู้สึกล่องลอยหรือไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
จากความน่ากลัวของอาการตื่นตระหนกและความรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก คนจำนวนมากที่ประสบกับมันเป็นครั้งแรกจึงมักคิดว่าพวกเขากำลังหัวใจวายหรือกำลังตกอยู่ในอันตราย อาการอาจคงอยู่เพียงไม่กี่นาทีหรือนานนับชั่วโมง และเมื่อมันจบลง บางคนก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและไม่ประสบกับมันอีกเลย แต่บางคนอาจเริ่มมีอาการบ่อยมากขึ้นและประสบการณ์ที่ได้รับก็น่ากลัวมากเสียจนพวกเขากังวลว่าครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
อาการของโรควิตกกังวลทั่วไปและโรคตื่นตระหนกสามารถลดลงหรือควบคุมได้โดยการใช้ยารักษา สำหรับจีเอดีแล้ว การบำบัดและเข้ารับคำปรึกษาก็อาจเป็นประโยชน์ในการสร้างความตระหนักรู้เมื่อมีความกังวลเกินกว่าเหตุ ตลอดจนสร้างความคิดด้านบวกแทนที่ความคิดด้านลบ สำหรับโรคตื่นตระหนก การใช้ยาและการบำบัดจะสามารถช่วยจัดการกับอาการซึ่งจะทำให้คุณควบคุมตัวเองได้เมื่อเกิดอาการตื่นตระหนก
โรควิตกกังวลอาจเกิดกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะแข็งแรง หรือประสบความสำเร็จแค่ไหน การเข้ารับการรักษาอาการวิตกกังวลไม่ได้หมายถึงการยอมรับความอ่อนแอ แต่หมายถึงความกล้าที่จะเลือกใช้ชีวิตในแบบของตนเอง โดยไม่ปล่อยให้ความกังวลทั้งหลายมาคอยรั้งคุณไว้
หากคุณรู้จักใครที่กำลังประสบปัญหากับอาการวิตกกังวล การบอกให้เขา “หยุดกังวล” หรือ “ลืมไปซะเถอะ” นั้นไม่อาจช่วยได้ โดยส่วนใหญ่พวกเขารู้ตัวอยู่แล้วว่ากำลังแสดงอาการเกินกว่าเหตุหรือไม่สมเหตุสมผล ถึงอย่างนั้น ความกลัว, ความตื่นตระหนก และความรู้สึกวิตกก็เป็นจริงอย่างมาก โปรดอย่าตัดสิน แต่แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณจะคอยสนับสนุนโดยไม่เพิ่มความกดดันให้ เพียงใช้เวลากับพวกเขา และแสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับพวกเขา ถึงแม้ว่าความวิตกกังวลของพวกเขาจะส่งผลกระทบมากกว่าที่คุณคิดไว้ก็ตาม